ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการความรู้




3.  เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการความรู้
ความหมายของความรู้  
สิ่งที่สั่งสมมาจากปฏิบัติ ประสบการณ์ ปรากฏการณ์ ซึ่งได้ยิน ได้ฟัง การคิดจากการดำเนินชีวิตประจำวันหรือเรียกว่าเป็นความรู้ที่ได้โดยธรรมชาติ นอกจากนี้ความรู้ยังได้จากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า วิจัย  จากการศึกษาองค์วิชาในแต่ละสาขาวิชา หรืออาจกล่าวได้ว่าความรู้ในเชิงการฝึกฝนจนเกิดทักษะ

ความหมายของการจัดการความรู้  
กระบวนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบที่เน้นการพัฒนาการปฏิบัติงานควบคู่ไปกับการเรียนรู้ร่วมกันของคนภายในองค์กร โดยมีการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้ รวมไปถึงการจัดการเกี่ยวกับฐานความรู้ของทรัพยากรบุคคลในองค์กรเพื่อยกระดับความรู้ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่อย่างมีคุณค่า



การจัดการความรู้  
 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) คือกระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ และประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้และจัดเก็บเป็นแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่างๆที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติาน ก่อให้เกิดการแบ่งปันและการถ่ายโอนความรู้ ในที่สุดความรู้ก็จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล ทำให้เพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร

ประเภทของความรู้  
มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่  ความรู้โดยนัย(Tacit knowledge) และ ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit knowledge)
1.      ความรู้โดยนัย หรือความรู้ที่มองเห็นไม่ชัดเจน ( Tacit Knowledge)
        จัดเป็นความรู้อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นทักษะหรือความรู้เฉพาะตัวของแต่ละบุคคลที่มาจากประสบการณ์ ความเชื่อ หรือความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน เช่น การถ่ายทอดความรู้ ความคิด ผ่านการสังเกต การสนทนา การฝึกอบรม เป็นต้น
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง หรือความรู้ที่เป็นทางการ ( Explicit Knowledge)
          เป็นความรู้ ที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และใช้ร่วมกันในรูปแบบต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์ เอกสารขององค์กร   ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์   เว็บไซต์ อินทราเน็ต เป็นต้น ความรู้ประเภทนี้เป็นความรู้ที่แสดงออกมาโดยใช้ระบบสัญลักษณ์  จึงสามารถสื่อสารและเผยแพร่ได้อย่างสะดวก



เกลียวความรู้  
เกลียวความรู้ หรือ Knowledge Spiral อีกชื่อหนึ่งคือ SECI Model เป็นที่นิยมนำมาใช้ในการจัดการความรู้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน SECI Model ประกอบด้วย

S=Socialization
การเปลี่ยนรูปจากความรู้ที่ฝังลึกไปสู่ความรู้ที่ฝังลึก หรือ การนำสู่สังคม
E=Externalization
การเปลี่ยนรูปจากความรู้ที่ฝังลึกไปสู่ความรู้ที่ชัดแจ้ง หรือ การนำออกสู่ภายนอก
C=Combination 
การเปลี่ยนรูปจากความรู้ที่ชัดแจ้งไปสู่ความรู้ที่ชัดแจ้ง หรือ การรวม
I=Internalization
การเปลี่ยนรูปจากความรู้ที่ชัดแจ้ง ไปสู่ความรู้ที่ฝังลึก หรือ การนำเข้าสู่ภายใน



กระบวนการจัดการความรู้
1.      การกำหนดเป้าหมายความรู้ (Knowledge Desired)
2.      การสร้างหรือจัดหาความรู้ (Knowledge Creation หรือ Knowledge Acquisition)
3.      การกลั่นกรองและคัดเลือกความรู้ (Knowledge Classified)
4.      การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Saving System)
5.      การใช้ความรู้ (Knowledge Utilization)
6.      การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
7.      การประยุกต์ความรู้ (Knowledge Applied)
8.      การประมวลผลและวัดผลความรู้ (Knowledge Codification & Knowledge Measured)
9.      การยกย่องชมเชยและให้รางวัล (To praise & Take a gift)
10. การเผยแพร่ความรู้ (Knowledge Distribution)

รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับกระบวนการจัดการความรู้  
·         เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการรวบรวมและการจัดการความรู้ที่ปรากฏ
·         เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการสร้างความรู้
·         เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเข้าถึงความรู้ที่ปรากฏ
·         เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประยุกต์ใช้ความรู้
·         เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้โดยนัย
·         เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการประมวลความรู้


  ความสำคัญและประโยชน์ของการจัดการความรู้

ความสำคัญของการจัดการความรู้  
   1. เป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาความรู้ใหม่ และเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนของการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการจ้างงานในระยะยาว
   2. ประชาชนเข้าถึงความรู้ได้มากขึ้น และเป็นการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
   3. ขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและสังคม และแนวทางพัฒนาสังคมเศรษฐกิจความรู้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว


ประโยชน์ของการจัดการความรู้  
   1. ป้องกันการสูญหายของความรู้
   2. เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
   3. ความสามารถในการปรับตัว และมีความยืดหยุ่น
   4. ความได้เปรียบในการแข่งขัน
   5. องค์กรในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่
   6. การยกระดับผลิตภัณฑ์
   7. สร้างความพึงพอใจ และเพิ่มยอดขาย และสร้างรายได้
   8. เพิ่มความสามารถในการแข่งขันโดยผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จัดทำโดย

จัดทำโดย นายศุภรัตน์  จันทร์วิเศษ ระดับชั้น ประกาศนียบัตรชั้รสูง  ปวส.1 สาขา ธุรกิจค้าปลีก รายวิชา  เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการเพื่อ...